ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
โครงสร้างการบริหาร
ทำเนียบบุคลากร
ช่องทางติดต่อราชการ
การให้บริการ
งานงบประมาณ
การบริการ
งานนโยบายและแผน
กฎหมายน่ารู้
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ภูมิปัญญาท้องถิ่น


  หน้าแรก     ด้านความเชื่อและพิธีกรรม 

ด้านความเชื่อและพิธีกรรม
ด้านความเชื่อและพิธีกรรม  
  ภูมปัญญาท้องถิ่น ด้านความเชื่อและพิธีกรรม        

รำแม่มด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)

          รำแม่มด เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวตำบลเมืองฝาง ชาวเขมรมีความเชื่อว่า คนทุกคนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ที่คอยปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นอยู่ประจำในขณะมีชีวิตอยู่ซึ่งเรียกว่าเป็นครู หรือ "กรู” ในภาษาเขมร และเมื่อเสียชีวิตไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษก็ยังวนเวียนอยู่เพื่อคอยปกป้องดู และลูกหลานของตน ให้อยู่เย็นเป็นสุข มี

ความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบสัมมาอาชีพ ตามความเชื่อนี้ชนเผ่าเขมรจึงมีความเคารพและไม่ล่วงเกิน  ต่อกันและกัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำผิดต่อครูซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบุคคลอื่น รวมถึงมีความเคารพ ยำเกรงต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และมีจารีตการปฏิบัติที่แสดงออกถึงการระลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษ    อยู่เสมอ เช่น ก่อนการประกอบพิธีกรรมทุกอย่างของชนเผ่าเขมร ต้องมีการเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าวต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น ก่อนลงมือทำนาในครั้งแรก งานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ความเชื่อของชาวเขมรนั้นเมื่อมีคนในครอบครัวมีอาการป่วยหรือผิดปกติทางด้านร่างกายหรือจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งญาติจะขอให้ร่างทรงทำนายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยซึ่งโดยมากแล้วร่างทรงก็จะบอกสาเหตุของอาการป่วย   ซึ่งเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์และบางครั้งก็จะมีสาเหตุมาจากครูของบุคคลนั้น หรือบรรพบุรุษโกรธเคือง          ที่ลูกหลานละเลยไม่ให้ความเคารพนบถือ ไม่มีการแสดงออกถึงความยำเกรง หรือไม่สามัคคีกันในหมู่พี่น้อง    ก็จะบันดาลให้บุคคลนั้นหรือหนึ่งในหมู่เครือญาติที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ อยู่ในช่วงดวงไม่ค่อยดีเกิดความผิดปกติทางด้านจิตใจหรือการเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกาย จากนั้นญาติของผู้ป่วยก็จะทำพิธีกรรมเรือมมะม็วดเพื่อเป็นการชุมนุมกันของบรรดาร่างทรงของครูและบรรพบุรุษร่ายรำถวายเพื่อขอขมาลาโทษ และถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการป่วย เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็ถามต่อไปว่า จะให้ทำ อย่างไรจึงจะหาย

********************************************************

หมอเรียกขวัญ

ชื่อ                นายสุธรรม  อุ้มรัมย์

ที่อยู่              บ้านเลขที่  13  หมู่ที่  8  ตำบลเมืองฝาง  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น        

          เป็นผู้มีความสามารถในด้านการประกอบพิธีเรียกขวัญ (หมอเรียกขวัญ) พิธีกรรม "เรียกขวัญ" ตามความเชื่อว่า ในร่างกายของ คนเราประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก่อตัวกันขึ้นมาเป็นรูปร่างที่ประกอบด้วยอาการ ๓๒ เป็นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและเชื่อว่าจะมี "ขวัญ" หรือจิตเข้ามาเป็นส่วนคอยควบคุมการดำรงอยู่ของร่างกาย เช่น ขวัญแข้ง, ขวัญชา, ขวัญตา, ขวัญหู, ขวัญใจ, ขวัญคอ ซึ่งขวัญของส่วนต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน ทั้งร่างกายและจิต หรือขวัญซึ่งหากส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับการกระทบกระเทือนก็จะส่งผลให้อีกส่วนได้รับ ผลกระทบไปพร้อม ๆ กัน อาทิเช่น เมื่อร่างกายได้รับความกระทบกระเทือนบาดเจ็บขึ้นมาก็ย่อมส่งผลให้ จิตใจได้รับผลดังกล่าวตามกัน ดังนั้น เมื่อร่างกายจิตใจได้รับความกระทบกระเทือนก็ย่อมจะมีแนวทาง ในการแก้ไขหรือการเสริมสร้สองส่วนกลับคืนสู่สภาพปกติ ซึ่งการรักษาทางกายนั้นจะมุ่งเน้นการรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพร กระบวนการรักษานที่เน้นวิธีการรักษาแต่เพียงภายนอก แต่ทางด้านจิตใจ นอกจากการให้กำลังใจแล้วกระบวนการ "เรียกขวัญ / สู่ขวัญ " ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่หมอเมืองได้มีการนำมาใช้ในการรักษาเพื่อการเสริมสร้างสภาพจิตใจให้คืนสู่สภาพปกติ ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของการ เรียกขวัญและการสู่ขวัญตามความคิดเห็นของหมอเมืองเชื่อว่า การเรียกขวัญ           และการสู่ขวัญมีประวัติความ เป็นมาสืบเนื่องมาจากสาเหตุการเจ็บป่วยของคนเราโดยเฉพาะการเจ็บป่วย      ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางในการรักษา ซึ่งกระบวนการเรียกขวัญ / สู่ขวัญ ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ได้มีการถือปฏิบัติสืบ ต่อ 1 กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ตามความเชื่อของหมอเมืองเชื่อว่า ขวัญจะมาอยู่กับเนื้อกับตัวของเรา ซึ่งหากทุกวันนี้ถ้าคนเราไม่มี ขวัญก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับขวัญจึงต้องทำการเรียกขวัญและสู่ ขวัญ เพื่อที่จะช่วยให้อาการเหล่านั้นหายเป็นปกติ ถือได้ว่าการเรียกขวัญ / สู่ขวัญก็คล้ายกับเป็นการชะโลมจิตใจหรือปลอบใจเพื่อให้จิตใจดีขึ้น ดังได้กล่าวไว้ว่าคนเรา    มี ๓๒ ขวัญ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยตามความเชื่อ ของหมอเมืองเชื่อว่า อาการเหล่านั้นมักจะเกิดจากขวัญใดขวัญหนึ่งได้หายไปไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ก่อให้เกิด ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เช่น เกิดจากการตกใจ เกิดจากการประสบอุบัติเหตุจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ถือเป็นอาการเจ็บป่วยที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนจึงทำการเรียกขวัญ / สู่ขวัญได้โดยไม่ ต้องทำพิธีการที่เรียกว่า "บนขวัญ" ซึ่งพิธีการบนขวัญจะกระทำเมื่อไม่ทราบสาเหตุหรือเมื่อเราไม่ทราบว่า อาการเหล่านั้นเกิดจากขวัญหายไปหรือไม่จึงได้มีการบรขวัญ     โดยกล่าวคำโวหารหรือคำอ้อนวอนให้อาการเจ็บป่วยหายภายใน 3 วัน 7 วัน ซึ่งขั้นตอนการบนขวัญจะบนกับตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้นแสดงว่าพิธีการเรียกขวัญ สู่ขวัญนี้เกิดขึ้นมาเนื่องจากคนเรามีขวัญเมื่อขวัญหายไปทำให้เกิด อาการเจ็บป่วย จึงต้องมีการเรียกขวัญ / สู่ขวัญ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตัวเราเองไปพบเจอกับสิ่งที่ทำให้ตกใจ     ก็ มักจะอุทานว่า "ขวัญมา ขวัญมา" ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการเรียกขวัญ / สู่ขวัญก็เพื่อให้เกิดความสุขสบาย ทั้งกายและใจ รวมทั้งเพื่อให้อาการเจ็บป่วยเป็นที่อยู่หายเป็นปกติ

 


ประกาศโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง
วันที่ประกาศ : 2023-07-05

ปฏิทินกิจกรรม
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 27 เมษายน 2567
ช่องทางการติดต่อ
กฎหมายน่ารู้
เว็บไซต์บริการ
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 1 คน
หมายเลข IP 18.218.184.214
คุณเข้าชมลำดับที่ 2,074,062

แบบสอบถาม
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
Facebook
ตอบประเมินอบต.
ร้องเรียนการทุจริต
ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง
ตำบลเมืองฝาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
Tel : 044 - 110248 สำนักปลัด   Fax : 044 - 110248
Email : OBT_345muangfang@hotmail.com
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.